วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลเสาวรส

ผลเสาวรส

เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง หรือ กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์Passiflora
edulisอังกฤษPassionfruitสเปนMaracujá) เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง[1] กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน

เสาวรส
เสาวรสสีม่วงจากออสเตรเลียทั้งผลและผ่าตามขวาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
(unranked):Angiosperms
(unranked):Eudicots
(unranked):Rosids
อันดับ:Malpighiales
วงศ์:Passifloraceae
สกุล:Passiflora
ชนิด:P. edulis
ชื่อทวินาม
Passiflora edulis
Sims, 181
เสาวรสดิบ ผลสีม่วง
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก. (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 100 kcal   410 kJ
คาร์โบไฮเดรต    23.38 g
- น้ำตาล  11.20 g
เส้นใย  10.4 g  
ไขมัน0.70 g
โปรตีน2.20 g
วิตามินเอ  64 μg 7%
วิตามินบี2  0.130 mg  9%
ไนอะซิน  1.500 mg  10%
กรดโฟลิก (B9)  14 μg 4%
วิตามินซี  30.0 mg50%
แคลเซียม  12 mg1%
เหล็ก  1.60 mg13%
แมกนีเซียม  29 mg8% 
ฟอสฟอรัส  68 mg10%
โพแทสเซียม  348 mg  7%
สังกะสี  0.10 mg1%
Nutrient values and weights are for edible portion.
ร้อยละของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน
สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำในสหรัฐอเมริกา
แหล่งที่มา: USDA Nutrient database

การกระจายพันธุ์

มีการปลูกเสาวรสทางการค้าในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรูเปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้และโปรตุเกส ในประเทศไทยมีเสาวรสที่ปลูกทั่วไป 3 พันธุ์คือ พันธุ์สีม่วง เมื่อสุกเปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลือง รสอมหวานมากกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่ไม่ค่อยต้านทานโรคในเขตร้อน พันธุ์สีเหลืองหรือเสาวรสสีทอง ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก นิยมปลูกในเขตร้อน พันธุ์ผสม เมื่อสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด กลิ่นแรง

การใช้ประโยชน์


ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น[2] ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับบบน้ำพริกลล เมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป [3] การใช้ประโยชน์ในประเทศต่างๆมีดังนี้
  • บราซิล มูสเสาวรสเป็นของหวานที่พบได้ทั่วไป เมล็ดเสาวรสนิยมใช้แต่งหน้าเค้ก ในการปรุงCaipirinha นิยมใช้เสาวรสแทนมะนาว
  • โคลอมเบีย เป็นผลไม้ที่สำคัญในการทำน้ำผลไม้และขนม เรียกเสาวรสว่า "Maracuyá"
  • สาธารณรัฐโดมินิกันเรียกเสาวรสว่า chinola ใช้ทำน้ำผลไม้และใช้แต่งรสไซรับ กินเป็นผลไม้สดกับน้ำตาล
  • ฮาวาย ทั้งเสาวรสสีม่วงและสีเหลืองใช้กินเป็นผลไม้ น้ำเชื่อมรสเสาวรสใช้แต่งหน้าน้ำแข็ง ไอศกรีม และใช้เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ แยม เยลลี่ เนย
  • อินโดนีเซีย มีเสาวรสสองชนิด คือชนิดสีขาวกับสีเหลือง สีขาวกินเป็นผลไม้ สีเหลืองใช้ทำน้ำผลไม้ และเคียวกับน้ำตาลเป็นไซรับ
  • นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย นิยมกินผลสดเป็นอาหารเช้าในช่วงฤดูร้อน เช่นทำฟรุตสลัด เสาวรสใช้ทำขนมหลายอย่าง เช่นแต่งหน้าเค้ก pavlova ไอศกรีม ใช้แต่งรสชีสเค้ก และมีน้ำอัดลมรสเสาวรสในออสเตรเลีย
  • ปารากวัย ใช้ทำน้ำผลไม้ ใช้ผสมในเค้กมูส ชีสเค้ก ใช้แต่งรสโยเกิร์ตและคอกเทล
  • เม็กซิโก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือรับประทานผลกับพริกป่นและน้ำเลมอน
  • เปอร์โตริโก เรียกเสาวรสว่า "Parcha" นิยมใช้เป็นยาลดความดัน[4] ใช้ทำน้ำผลไม้ ไอศกรีมหรือเพสตรี
  • เปรูใช้เสาวรสทำขนมหลายชนิดรวมทั้งชีสเค้ก ใช้ทำน้ำผลไม้ ผสมใน ceviche และคอกเทล
  • ฟิลิปปินส์รับประทานเป็นผลไม้ มีขายทั่วไปแต่ไม่เป็นที่นิยมมาก
  • แอฟริกาใต้ เสาวรสรู้จักกันในชื่อ Granadilla ใช้แต่งรสโยเกิร์ต น้ำอัดลม กินเป็นผลไม้หรือใช้แต่งหน้าเค้ก
  • ศรีลังกา นิยมดื่มน้ำเสาวรสเป็นน้ำผลไม้ [5]
  • สหรัฐอเมริกา ใช้ผสมในน้ำผลไม้ผสม
  • เวียดนาม รับประทานเสาวรสปั่นกับน้ำผึ้งและน้ำแข็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น