วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ลีลาศ (Social Dance)

ลีลาศ
(Social Dance)


ความหมาย


ลีลาศ” หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค..1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรีการเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ

ประวัติมาเป็นมา

ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวยยิงธนูวิ่งขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.) การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก  เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante) สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่างแซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ และได้บันทึกไว้เมื่อ ค..1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น โคแรนโท” (Coranto) การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้นในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้างในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ต่อมาประมาณปี ค..1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น จังหวะถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์(Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot) เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น จังหวะคือ รัมบ้า(Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา

ประเภทของลีลาศ

แบ่งออกเป็น ประเภท
1.ประเภทบอลรูม (Ballroom) มีลักษณะการเต้นเต็มไปด้วยความอ่อนหวานลำตัวตั้งตรง ผึ่งผาย ไม่โยกหรือส่ายสะโพกมาก ประกอบไปด้วย จังหวะ คือ
ü     วอลทช์ (Waltz)
ü     แทงโก้ (Tango)
ü     สโลว์ฟอกซ์ทรอท (Slow Fox Trot)
ü     ควิกสเตป (Quick Step)
ü     ควิกวอลทซ์ (Quick Waltz)
2. ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American) มีลักษณะการเต้นที่มีการเคลื่อนไหว ลำตัวมาก โดยมากจะใช้สะโพก เอว เข่า และข้อเท้าเป็นสำคัญ ประกอบด้วย จังหวะ คือ
ü     ช่า ช่า ช่า ( Cha Cha Cha )
ü     คิวบันรุมบ้า (Cuban Rumba)
ü     แซมบ้า (Samba)
ü     ไจฟว์ (Jive)
ü     พาโชโดเปล
3. ประเภทเบ็ดเตล็ดต่างๆ ลักษณะการเต้นเป็นจังหวะที่ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป เป็นที่นิยมเต้นกันในประเทศไทยมาก ประกอบไปด้วย
ü     กัวราช่า ( Guaracha )
ü     รุมบ้า (American Rumba)
ü     บีกิน (Beguine)
ü     ตะลุง

มารยาทในการลีลาศ

1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ
2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
7. หากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนำคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ
v   ·มารยาทในการลีลาศของสุภาพบุรุษ
1. ไม่ควรยืนข้างฟลอร์เฉยๆ
2. ไม่ตัดคู่ขอลีลาศกับสุภาพสตรีที่กำลังลีลาศอยู่ เมื่อยังมีสตรีอื่นไม่ได้ออกลีลาศ
3. ควรเดินนำหน้าเพื่อขอทาง โดยยื่นมืออีกข้างให้สุภาพสตรีจับถ้าฟลอร์แน่น
4. เมื่อจบเพลงควรเดินตามไปส่งให้ถึงที่นั่ง พร้อมกับกล่าวขอบคุณ
5. ไม่ควรนำลีลาศในลวดลายที่ยาก
6. ถ้าจะขอลีลาศกับสุภาพสตรีอื่น ต้องขออนุญาตคู่ลีลาศของเขาก่อน และให้สุภาพสตรีพอใจที่จะลีลาศด้วย
v    มารยาทในการลีลาศของสุภาพสตรี
1. พยายามเป็นผู้ตาม
2. รับการขอลีลาศจากสุภาพบุรุษเสมอ
3. กล่าวรับคำขอบคุณของสุภาพบุรุษอย่างสุภาพ
4. เมื่อปฏิเสธการลีลาศจากสุภาพบุรุษคนหนึ่งแล้ว ไม่ควรออกลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะนั้น
v   ประโยชน์ของลีลาศ
1. ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์ เพราะเป็นการออกกำลังกาย
2. เป็นกิจกรรมที่ทั้งชายและหญิงเข้าร่วมพร้อมๆ กันได้
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย ทั้งยังช่วยสร้างเสริมทรวดทรง ท่าทางและมารยาท
4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ช่วยให้เข้าสังคมได้ดี
6. ช่วยให้ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมนันทนาการ
7. ช่วยให้ลดน้ำหนักได้ด้วยความสามารถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น