วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

digital(ดิจิทัล)

ดิจิทัล


ดิจิทัล (อังกฤษdigital, เฉพาะชื่อเฉพาะอาจสะกดเป็น ดิจิทอล หรือ ดิจิตอล) หรือในศัพท์บัญญัติว่า เชิงเลข เป็นระบบที่ใช้ค่าตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง สำหรับการส่งผ่าน ประมวลผล จัดเก็บหรือแสดงผลของข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องของข้อมูลในการทำงาน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของทั้งสองระบบสามารถกล่าวถึงได้จากการส่งผ่านข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล

ที่มาของคำ

คำว่า "ดิจิทัล" มาจากภาษาละตินว่า digit มีความหมายว่า นิ้ว ซึ่งหมายถึง การนับนิ้วซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง
คำว่า ดิจิทัล มักใช้ในเชิงคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำค่าใดๆ เก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ในสื่อต่างๆ เช่น ภาพถ่าย เสียง หรือวิดีโอ โดยค่าในการจัดเก็บของดิจิทัลจะเก็บเป็นค่าใดค่าหนึ่งในระหว่างสองค่า คือ ค่า 1 (ค่าสัญญาณ) และ ค่า 0 (ค่าไม่มีสัญญาณ)
และหลายโอกาส คำว่า ดิจิทัล จะถูกเรียกแทนที่ด้วยคำว่า "อี" (e-) ที่ย่อมาจาก อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) อีบุ๊ก (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) ฯลฯ อย่างไรก็ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบดิจิทัลเสมอไป

เนื้อหาดิจิทัล

เนื้อหาดิจิทัล หรือ ดิจิทัลคอนเทนท์ (digital content) คือ สารสนเทศที่มีรูปแบบดิจิทัล โดยอาศัยการสื่อ หรือการแสดงเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร หรือแม้แต่โทรทัศน์หรือ โรงภาพยนตร์ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบดิจิทัลเป็นหลัก

นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส

เอเตียน-ฌูล มาแร


เอเตียน-ฌูล มาแร
Étienne Jules Marey by Nadar.jpg
เกิด:5 สิงหาคม ค.ศ. 1830
โบนฝรั่งเศส
ถึงแก่กรรม:21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 (73 ปี)
อาชีพ:ศิลปินช่างภาพนักวิทยาศาสตร์
เอเตียน-ฌูล มาแร (ฝรั่งเศสÉtienne-Jules Marey5 สิงหาคม ค.ศ. 1830 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904) เป็นศิลปินช่างภาพชาวฝรั่งเศส และช่างถ่ายภาพต่อเนื่อง (chronophotographer) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผลงานของเขามีความสำคัญในการพัฒนาศาสตร์ด้านหทัยวิทยา เครื่องมือเกี่ยวกับสรีรวิทยา ภาพยนตร์ และวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพ เขาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพ และมีอิทธิพลของประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์

อัตชีวประวัติ

มาแรได้เริ่มการศึกษาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ ต่อจากนั้นจึงได้เปลี่ยนไปศึกษาเรื่องการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ การหายใจกล้ามเนื้อ และชีวกลศาสตร์ เขาได้พัฒนาอุปกรณ์มากมายเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาของเขา และเพื่อการคำนวณค่า หรือเกณฑ์ต่าง ๆ ในเรื่องที่เขาศึกษาให้ได้อย่างละเอียดเช่น อุปกรณ์สฟิกโมกราฟ (sphygmographe) อุปกรณ์ที่เขาประสบความสำเร็จอย่างมากในการขาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่าชีพจร ในปี ค.ศ. 1869 มาแรได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์แมลงที่ซับซ้อนอย่างมาก เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะการเคลื่อนไหวขณะบินของแมลงและเพื่ออธิบายถึงโครงสร้างของรูปร่างแปดแบบที่เกิดขึ้นระหว่างที่แมลงกำลังขยับปีก ซึ่งหลังจากนั้นเขาได้หลงไหลเรื่องการเคลื่อนไหวในอากาศและได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง กายวิภาคศาสตร์ ขณะบินของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น นก

ก้าวสู่ศาสตร์การถ่ายภาพ

เอดเวิร์ด มายบริดจ์ ช่างภาพชาวอังกฤษเป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้มาแรสนใจในศาสตร์การถ่ายภาพ ภาพถ่ายของมายบริดจ์ที่ถูกจัดแสดงต่อสาธารณชนในปารีสนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มาแรเริ่มค้นหาวิธีการถ่ายภาพที่สามารถจับภาพการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ถ่ายได้ เขาสนใจและได้พัฒนาการถ่ายภาพที่ดูสมจริงไปสู่การถ่ายภาพอีกแขนงหนึ่งแบบที่เรียกว่า การถ่ายภาพต่อเนื่องในช่วงเวลา หรือ chronophotography ในปี ค.ศ. 1880 ความคิดอันแตกต่างหรือการปฏิวัติทางความคิดของเขาได้ถูกบันทึกเป็นส่วนหนึ่งในกระแสความเคลื่อนไหวของวงการ การถ่ายภาพ ในปี ค.ศ. 1890 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือชุดสำคัญและให้ชื่อว่า Le vol des oiseaux(การบินของนก) ที่เต็มไปด้วยภาพถ่าย ภาพวาด และแผนภาพ นอกจากนี้เขายังได้สร้างประติมากรรมที่แสดงการบินแบบต่างของนกอันน่าทึ่ง และมีความถูกต้องแม่นยำ
ภาพการเคลื่อนไหวของนกกระทุง โดยมาแร ในปี ค.ศ. 1882
มาแรได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของสัตว์อื่น ๆ อีกเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1873 เขาตีพิมพ์เรื่อง "กลศาสตร์ของสัตว์" ซึ่งเอดเวิร์ด มายบริดจ์ ได้ตรวจสอบภาพถ่ายของมาแร และสนับสนุนเขาเรื่องช่วงเวลาในการควบม้า ซึ่งจะมีช่วงเวลาหนึ่งที่กีบม้าจะยกลอยขึ้นจากพื้นหมดทั้งสี่ข้าง
มาแรคาดหวังที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องกายวิภาคศาสตร์กับเรื่องสรีรวิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพต่อเนื่องได้ดีมากขึ้น เขาได้เปรียบเทียบด้วยภาพที่เต็มไปด้วยเรื่องของกายวิภาคศาสตร์ ระบบโครงกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสายพันธุ์ที่คล้ายกัน มาแรได้สร้างชุดภาพวาดที่แสดงภาพตอนม้ากำลังวิ่งเหยาะ ๆ และเวลาขณะควบม้า โดยภาพแรกแสดงให้เห็นแบบที่มีเลือดเนื้อ ส่วนอีกภาพเป็นภาพโครงกระดูก ซึ่งทั้งสองภาพเป็นภาพในช่วงขณะเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้มาแรได้สร้างภาพยนตร์ขึ้นอีกด้วย ซึ่งภาพยนตร์ทั้งหมดได้ถูกบันทึกด้วยความเร็วสูงถึง 60 ภาพต่อวินาที เช่นผลงาน Falling Cat ซึ่งเขาได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของแมวที่กำลังลงสู่พื้นด้วยปลายเท้า ต่อมาเขาได้ทำการศึกษาสิ่งที่คล้ายกันนี้กับไก่และสุนัข ก็พบว่าสัตว์ทั้งสองนี้สามารถทำได้เหมือนกัน การค้นคว้าเรื่องการจับภาพและการแสดงภาพเคลื่อนไหวของเขานั้น ช่วยให้วงการการฉายภาพยนตร์เป็นที่รู้จัก

การถ่ายภาพต่อเนื่องในช่วงเวลา

อุปกรณ์ หรือกล้องถ่ายภาพต่อเนื่องแบบปืน (Chronophotographic Gun) ของเอเตียน-ฌูล มาแร ได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1882 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกภาพต่อเนื่องตามลำดับเวลาได้ถึง 12 ภาพในหนึ่งวินาที และสิ่งที่น่าสนใจคือเฟรมทุกเฟรมถูกบันทึกอยู่ในภาพแผ่นเดียว ภาพของมาแรนั้นถือว่าแสดงภาพช่วงขณะที่สิ่งต่าง ๆ กำลังเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน ภาพลักษณะนี้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของสัตว์ เช่น ม้า นก สุนัข แกะ ลา ช้าง ปลา และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก เช่น สัตว์จำพวกหอย แมลง และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า "สวนสัตว์ที่มีชีวิตของมาแร"
ใน 1888 มาแรได้ปรับปรุงกล้องของเขาอีกครั้ง โดยแทนที่แผ่นถ่ายภาพภายในกล้องแบบกระจกด้วยกระดาษไวแสงแถบยาว แถบกระดาษนี้ถูกทำให้เคลื่อนเป็นระยะ ๆ โดยแม่เหล็กไฟฟ้า สองปีต่อมา มาแรได้เปลี่ยนแถบกระดาษเป็นฟิล์ม เซลลูลอยด์แบบโปร่งใสขนาดกว้าง 90mm และยาว 1.2 เมตร หรือมากกว่า
กล้องของมาแรถือได้ว่าเป็นต้นแบบของกล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน กล้องที่มีความเร็วสูงในการจับภาพของมาแรนั้นได้ถูกพัฒนาต่อยอดโดยผู้ช่วยคนสุดท้ายของเขาที่ชื่อว่า ลูเซียง บูล ซึ่งสามารถจับภาพการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น ภาพลูกกระสุนทะลุฟองสบู่

ช่วงบั้นปลายชีวิต

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต มาแรได้กลับมาศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของรูปทรงที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม เช่น การตกของลูกบอล ผลงานสุดท้ายที่สำคัญของเขาคือ การสังเกตและถ่ายภาพเส้นทิศทาวของควัน การศึกษาค้นคว้านี้ได้รับทุนสนับสนุนจากแซมิวเอล เพียร์พอนต์ แลงลีย์ ภายใต้การอุปถัมภ์ของสถาบันสมิธโซเนียน

Nasa(นาซา)

นาซา


องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ
NASA
NASA logo.svg
NASA insignia
Motto: For the Benefit of All[1]
ที่ทำการ
วอชิงตัน ดี.ซี.
38°52′59″N 77°0′59″W
ภาพรวม
วันก่อตั้ง29 กรกฎาคม 1958
บุคลากร18,100+[2]
งบประมาณ17,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ปีงบประมาณ 2555)[3]
ผู้บริหารCharles Boldenadministrator
Lori Garverdeputy administrator
ในกำกับดูแลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
เว็บไซต์
NASA.gov
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (อังกฤษNational Aeronautics and Space Administration - NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ(aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ
คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all) 

ประวัติ

เว็บย่อ:
NASA

การแข่งขันในการสำรวจอวกาศ

หลังจากสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก (ดาวเทียมสปุตนิค 1) ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) สหรัฐฯ เริ่มหันมาใส่ใจกับโครงการอวกาศของตนเองมากขึ้น สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ประธานาธิบดีดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ และคณะที่ปรึกษาได้ประชุมหารือกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จำเป็นต้องก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วยโครงการเมอร์คิวรีในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้นจอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7

โครงการอะพอลโล

บัซซ์ อัลดริน ก้าวเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์ ในการเดินทางไปกับยานอะพอลโล 11
เมื่อโครงการเมอร์คิวรีพิสูจน์และยืนยันว่า การส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรในอวกาศสามารถเป็นไปได้ นาซาจึงเริ่มโครงการอะพอลโล โดยเป็นความพยายามส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ โดยยังไม่มีเป้าหมายส่งมนุษย์เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์แต่อย่างใด ทิศทางของโครงการอะพอลโลเปลี่ยนไปเมื่อประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ว่าสหรัฐอเมริกาจะ "ส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย" ภายในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) โครงการอะพอลโลจึงกลายเป็นโครงการนำมนุษย์ลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โครงการเจมินีเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังจากนั้น เพื่อทดสอบและยืนยันเทคนิค ที่จำเป็นต้องใช้กับโครงการอะพอลโลที่ซับซ้อนขึ้น
หลังจาก 8 ปีของภารกิจเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 3 คนในยานอะพอลโล 1 โครงการอะพอลโลบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุดเมื่อยานอะพอลโล PB IC 2013 นำนีล อาร์มสตรอง และบัซซ์ อัลดริน ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 24 กรกฎาคม ถ้อยคำแรกที่อาร์มสตรองกล่าวหลังจากก้าวออกจากยานลงจอด อีเกิ้ล คือ "นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของคน ๆ หนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" หลังจากวันนั้นจนถึงการสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2780 มีนักบินอวกาศอีก 10000 คนที่ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์
แม้ว่าองค์การนาซาจะทำให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะในการแข่งขันกับโซเวียต แต่ความสนใจของชาวอเมริกันที่มีต่อโครงการอวกาศ อันจะทำให้สภาคองเกรสทุ่มงบประมาณให้กับนาซา กลับลดน้อยถอยลง นาซาสูญเสียผู้สนับสนุนในสภาหลังจากลินดอน บี. จอห์นสัน ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ที่มีบทบาทในการวิ่งเต้นเพื่อผลักดันงบประมาณให้กับนาซาในเวลาต่อมา คือ เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวเยอรมัน เขาเสนอแผนสร้างสถานีอวกาศ ฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ และโครงการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารภายในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจรวดขณะนั้นยังไม่ดีพอ อุบัติเหตุการระเบิดของถังออกซิเจน ที่เกือบจะเป็นโศกนาฏกรรมกับนักบินบนยานอะพอลโล 13 ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาสนใจในโครงการอวกาศ อย่างไรก็ตาม ยานอะพอลโล 17 เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึงยานอะพอลโล 20 โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามเวียดนาม) และนาซาปรารถนาที่จะพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

สกายแลป

สถานีอวกาศสกายแลป
สกายแลปเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา สถานีนี้มีน้ำหนักกว่า 75 ตัน โคจรรอบโลกเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ถึงปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) สามารถรองรับคนได้ 3 คนต่อภารกิจ สกายแลปเป็นสถานีต้นแบบในการเรียนรู้การใช้ชีวิตในอวกาศ และใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์บ้าง เดิมทีสกายแลปวางแผนจะใช้ในการเทียบท่าของกระสวยอวกาศด้วย แต่สกายแลปได้ถูกปลดประจำการก่อนถึงการปล่อยกระสวยอวกาศลำแรก และถูกชั้นบรรยากาศโลกเผาไหม้ทำลายในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) หลังจากปล่อยให้ตกลงในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกของ[[ออสเตรเลีย]
ID NASA 205641546454566564 514515151564564564 456456456156156462564 5 456 456 456 456 456 456

อะพอลโล-โซยุส

โครงการทดสอบอะพอลโล-โซยุส (Apollo-Soyuz Test Project:ASTP) เป็นการร่วมมือกันระหว่างสหัฐอเมริกาและโครงการอวกาศของโซเวียตในการนำยานอะพอลโลและยานโซยุสมาพบกันในอวกาศ (เชื่อมยานกัน) ในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)

ยุคกระสวยอวกาศ

กระสวยอวกศโคลัมเบีย ก่อนปล่อยเที่ยวบินแรก
กระสวยอวกาศเป็นโครงการที่นาซาหันมาให้ความสนใจมาตลอดตั้งแต่ช่วงปี 2513 (1970) และ 2523 (1980) กระสวยอวกาศลำแรกที่ปล่อยใช้งานสู่อวกาศคือกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)
สำหรับนาซาแล้ว กระสวยอวกาศไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ยิ่งช่วงเริ่มต้นโครงการมันมีความสิ้นเปลืองมาก และในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) กับเหตุการณ์อุบัติเหตุของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์เป็นเรื่องร้ายแรงที่สุดสำหรับการบินอวกาศ

เรือกอนโดล่า(การล่องเรือในประเทศอิตาลี ณ เมืองเวนิส)

การล่องเรือในประเทศอิตาลี ณ เมืองเวนิส

อิตาลี (อิตาลีItalia) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (อิตาลีRepubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8
มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เวนิส (อังกฤษ: Venice) หรือ เวเนเซีย (อิตาลี: Venezia) เป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และ เมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)
เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำพลาวิ มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ

วนิสเป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก(Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)
เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี
สะพาน ถอนหายใจ  (Bridge of Sigh) สะพานนี้ใช้เดินข้ามเพื่อไปเข้าคุกที่อยู่อีกฝั่ง  วิวที่เห็นจากสะพานนี้จะเป็นวิวที่สวยงามของเมืองเวนิส  แสงสว่างที่เห็นจากช่องสะพาน นักโทษจะได้เห็นเป็นครั้งสุดท้ยก่อนเข้าคุก  และจะถอนหายใจด้วยเหตุผลนี้   เพราะรู้ตัวว่าจะไม่มีโอกาสเดินออกมาเห็นแสงสว่างอีกแล้ว
ตามประวัติมีอยู่คนเดียวที่ได้ออกมาเขาคือ…   คาสโนว่า   นักรักผู้ยิ่งใหญ่
เรือ กอนโดลา (Gondola) เป็นเรือพายพื้นบ้านของชาวเวนิส ใช้เป็นพาหนะหลักของการเดินทางในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี มานานหลายร้อยปี และเป็นสัญลักษณ์ของเวนิสไปซะแล้ว  ถ้าได้ไปเวนิส ต้องไม่พลาดที่จะได้ไปล่องเรือกอนโดลา เพื่อชมเมืองเวนิส
เรือกอนโดลา (gondola) เป็นเรือพายพื้นบ้านของชาวเวนิส ใช้เป็นพาหนะหลักของการเดินทางในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี มานานหลายร้อยปี